วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟุตบอล


ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน





วิธีการเล่น

จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
การชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
การชดเชยเวลาสามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งของการแข่งขันสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจาก
1. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
2. การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
3. การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันเพื่อทำการปฐมพยาบาล
4. การถ่วงเวลาการแข่งขัน
5. สาเหตุอื่น ๆที่เกิดขึ้นทุกกรณี

การชดเชยสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจะอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
การเตะ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
อนุญาตให้เพิ่มเวลาเพื่อการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ในช่วงเวลาสุดท้ายของแต่ละครี่ง หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของการต่อเวลาพิเศษ
การต่อเวลาพิเศษ (Extra Time)
ระเบียบของการแข่งขันอาจระบุช่วงเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากัน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 8
การยกเลิกการแข่งขัน (Abandoned Match)
การยกเลิกการแข่งขัน จะต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

         การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่ (The Start and Restart of Play) การเตรียมการเบื้อต้น (Perliminaries)
ทำการเสี่ยงเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายเลือกประตูที่จะทำการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขัน อีกทีมจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น (Kick-off) เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน และทำการรุกประตูตรงข้าม



กติกาการเล่นฟุตบอล

ข้อ1 สนาม

1.ขนาดสนาม สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องไม่ยาวกว่า 130 หลา หรือไม่สั้นกว่า 100 หลาและไม่กว้างกว่า 100 หลา หรือไม่แคบกว่า 50 หลา

2.การเขียนเส้นในสนามต้องเขียนเส้นต่างๆ ดังปรากฏในแผนผังให้ชัดเจน ส่วนกว้างไม่เกิน 5 นิ้ว เส้นด้านยาวทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นด้านสกัดทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นประตู” ที่มุมสนามมีธงปักไว้ทุกมุม ให้เขียนเส้นขวางกลางสนามเรียกว่า “เส้นแบ่งแดน”ตรงกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนมีจุดศูนย์กลางสนาม

3.เขตประตู  ที่เส้นประตูทั้งสองข้าง ห่างจากเสาประตูออกไปข้างละ 6 หลา ให้เขียนเส้นตรงยาว 6 หลา เข้าไปในสนามให้ได้ฉากกับเส้นประตู แล้วเขียนเส้นจดปลายเส้นทั้งสองขนานกับเส้นประตู เนื่อที่ภายในเขตนี้เรียกว่า “เขตประตู”

4.เขตโทษ  ที่เส้นประตูทั้งสองข้างห่างจากเสาประตูทั้งสองข้างออกไปข้างละ 18 หลาเข้าไปในสนามให้ได้ฉากกับเส้นประตู แล้วเขียนเส้นตรงจดปลายเส้นทั้งสองขนานกับเส้นประตู เนื้อที่ภายในเขตนี้เรียกว่า “เขตโทษ”

5.เขตมุม จากมุมสนามแต่ละแห่งเป็นจุดกลางให้เขียน ¼ ของวงกลมในสนามด้วยรัศมี 1 หลา

6.ประตู ประตูต้องมีเสาสองต้นปักตั้งตรงบนเส้นประตู ห่างจากธงมุมสนามเข้ามาเท่าๆกัน จะติดตาข่ายไว้กับเสา

ข้อ2 ลูกบอล   ลูกต้องกลม เปลือกนอกทำด้วยหนัง หรือวัตถุอื่นใดที่ได้รับการยินยอมให้ใช้ ห้ามใช้วัตถุใดที่อาจกระทำให้เป็นอันตรายแก่ผู้เล่น

ข้อ3 จำนวนผู้เล่น  การเล่นฟุตบอล ให้เล่นกันระหว่าง 2 ชุด ชุดหนึ่งมีผู้เล่นไม่เกิน 11 คน โดยให้ผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู

ข้อ4 อุปกรณ์ของผู้เล่น

1.ผู้เล่นจะสวมสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ผู้เล่นอื่นไม่ได้

2.รองเท้า (หุ้มข้อหรือธรรมดา)

3.ผู้รักษาประตู ควรใช้เครื่องแต่งกายที่มีสีต่างกับผู้เล่นและผู้ตัดสินอย่างเด่นชัด

ข้อ5 ผู้ตัดสิน   ผู้ตัดสิน ต้องได้รับการแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันแต่ละครั้งผู้ตัดสิน มีอำนาจลงโทษผู้กระทำผิด แม้ว่าความผิดนั้นจะได้เกิดขึ้นในขณะพักการเล่นชั่วคราว หรือ ขณะที่ลูกตาย คำตัดสินของผู้ตัดสินในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเล่นนั้น ให้ถือเป็นเด็ดขาดเพียงเท่าที่เกี่ยวกับผลของการเล่นนั้น

ข้อ6 ผู้กำกับเส้น

ผู้กำกับเส้นทั้งสองคนต้องได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่แจ้งว่า

       1.เมื่อใดลูกออก

       2.ฝ่ายใดมีสิทธิ์ที่จะได้เตะมุม เตะจากประตูหรือทุ่มลูก

       3.เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น

ข้อ7 ระยะเวลาเล่น   นอกจากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้กำหนดระยะเวลาเล่นเป็นสองตอน ตอนละเท่าๆกัน ตอนละ 45 นาที ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

   1.ชดเชยเวลาอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเหตุอื่นๆที่เสียไปแต่ละตอน

   2.เพิ่มเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดเตะโทษให้เสร็จสิ้นไป ถึงแม้ว่าระยะเวลาตามปกติหมดแล้ว จะเป็นในครึ่งเวลาแรกหรือในครึ่งเวลาหลังก็ตาม

ข้อ8 การเริ่มเล่น

1.เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยง ด้วยการโยนหัว โยนก้อย ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ

2.เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผู้เตะเริ่มเล่น

3.เมื่อหมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นในตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น 

ข้อ9 ลูกตายและไม่ตาย

ลูกตาย

1.เมื่อลูกได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างออกไปนอกสนามหมดทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศ

2.เมื่อผู้ตัดสินสั่งให้หยุดการเล่น

ลูกไม่ตาย    นับตั้งแต่ได้เริ่มการเล่นเป็นต้นไป ลูกจะอยู่ในการเล่นโดยตลอดจนถึงเลิกการเล่น

ข้อ10 การนับประตู  เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปในระหว่างเสาประตูทั้งสองและภายใต้คานประตู โดยผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้ขวางหรือใช้มือหรือแขนทำให้ลูกนั้นเข้าไปในประตู นอกจากผู้รักษาประตูซึ่งอยู่ภายในเขตโทษของตนเมื่อการเล่นเสร็จแล้ว ฝ่ายที่ได้ประตูมากกว่าเป็นฝ่ายชนะ ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ได้หรือได้ประตูเท่ากัน นับว่า ”เสมอกัน”

ข้อ11 การล้ำหน้า

1.ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล

2.ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน

3.ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า

1.เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ

2.เขาได้รับลูกโดยตรงจาการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน

4.ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น

ข้อ13 การเตะโทษ  การให้เตะโทษนั้นแยกได้เป็นสองสถาน คือ เตะโทษโดยตรง”และ”เตะโทษโดยอ้อม”

ข้อ14 การเตะโทษ ณ จุดโทษ  การเตะโทษ ณ จุดเตะโทษ จะต้องเตะจากจุดโทษและเมื่อก่อนจะเตะผู้เล่นทุกคนนอกจากผู้เตะและผู้รักษาประตูของฝ่ายรับ ต้องอยู่ในสนามแต่นอกเขตโทษ และให้ห่างจากจุดโทษอย่างน้อย 10 หลา จากจุดเตะโทษ ผู้รักษาประตูของฝ่ายรับต้องยืน บนเส้นประตูระหว่างเสาประตูของตนจนกว่าผู้เตะได้เตะลูกแล้ว

ข้อ15 การทุ่ม  เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นข้างออกไปนอกสนาม ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม ให้ทุ่มลูก ณ ที่ซึ่งลูกนั้นได้ผ่านเส้นข้างออกไป การทุ่มจะทุ่มลูกไปทางไหนก็ได้ โดยผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามกับผู้ที่ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้ายเป็นผู้ทุ่ม ผู้ทุ่มในขณะที่ปล่อยลูกออกไป ต้องหันหน้าเข้าสู่สนามและเท้าทั้งสองต้องอยู่บนเส้นข้าง หรืออยู่บนพื้นสนามนอกเส้นข้าง ผู้ทุ่มต้องใช้มือทั้งสองทุ่มและจะต้องปล่อยให้ลูกออกจากด้านหลังและให้เหนือศีรษะของตนจะเล่นลูกนั้นได้ทันทีในเมื่อลูกเข้าไปในสนาม แต่ผู้ทุ่มจะเล่นลูกที่ตนทุ่มไปนั้นอีกไม่ได้จนกว่าลูกทุ่มนั้นจะได้ถูกผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน การทุ่มลูกตรงเข้าประตูทีเดียวไม่นับเป็นประตู

ข้อ16 การเตะจากประตู  เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะได้ผ่านไปในระหว่างเสาประตูภายใต้คานประตู ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรับเป็นผู้นำลูกไปวางเตะภายในเขตประตูทางด้านที่ใกล้ลูกนั้นและต้องเตะครั้งเดียวให้ลูกออกนอกเขตโทษ ถ้าเตะครั้งเดียวลูกไม่ออกนอกเขตโทษ ผู้เตะเมื่อเตะลูกแล้วจะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกจะได้ถูกผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน

ข้อ17 การเตะจากมุม  เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะกำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวงของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน 



ขอขอบคุณแหล่งที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น